ชนิดของเสาเข็ม
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเสาเข็ม
ชนิดของเสาเข็มมีลักษณะอย่างไร
ถ้าจำแนกเสาเข็มตามวัสดุที่ใช้ทำ และการใช้งานสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด
เสาเข็มไม้
เสาเข็มไม้ตามปกติเป็นไม้เบญจพรรณ ตัดกิ่ง และทุบเปลือกออก ตอนตอกเจาะด้านปลายลงต้องมีลำต้นตรงไม่ผุหรือมีราขึ้น เสาเข็มไม้จะต้องทุบเปลือกหรือถากเปลือกออกทั้งหมด ตาไม้ต่าง ๆ จะต้องตัดให้เรียบเสมอฝังของต้นเสาเข็ม ปลายและหัวเสาเข็มจะต้องเลื่อยตัดเรียบได้ฉากกับลำต้น
เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ
เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จ ตามปกติเรามักจะหล่อเสาเข็มในโรงงานก่อน เมื่อคอนกรีตได้อายุแล้ว ค่อยขนย้าย จากโรงงาน ไปยังสถานที่ก่อสร้าง หรือในบางครั้ง เราอาจหล่อเสาเข็มในบริเวณที่ก่อสร้างเลยก็ได้เสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
-เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก
-เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง
เสาเข็มหล่อใน
เสาเข็มหล่อในที่ทำโดยเจาะรูลงไปในดินจนได้ความลึกตามที่ต้องการ แล้วเทคอนกรีตจนเต็มรูที่เจาะอาจใช้สว่านเจาะ ตอกแบบหรือปลอกเหล็ก หรืออาจกดปลอกเหล็กลงไปขุดดินภายในปลอกเหล็กขึ้น แล้วจึงเทคอนกรีตโดยปกติ
– Shell type
ทำโดยตอกปลอกเหล็กกลวงปิดปลายลงไปในดิน
– Shell-less type
ทำโดยตอกหรือกดปลอกเหล็กกลวงลงไปในดิน ถ้าเป็นปลอกเหล็กชนิดตอก มักจะมีแกนกลางสำหรับตอก
– Pedestal Type
เป็น เสาเข็ม ที่มีเชิงหรือกระเปาะอยู่ที่ปลายเสาเข็มเชิงหรือกระเปาะอาจเป็นคอนกรีตหล่อสำเร็จ รูปกรวย หรืออาจจะตอกคอนกรีตที่เพิ่งผสมใหม่ด้วยลูกตุ้มหนักๆ
– เสาเข็มเหล็ก
เสาเข็มเหล็ก ถ้าทำด้วยท่อเหล็ก มักจะเทคอนกรีตใส่ในท่อหลักจากตอกได้ถึงระดับที่ต้องการแล้ว แต่เสาเข็มเหล็กที่ใช้กันอย่างกว้างขวางมักจะเป็นรูปตัว H เพราะสามารถตอกลงในดินได้ดีกว่าชนิดอื่นๆ สามารถตอกทะลุชั้นหินบางได้ และสามารถรับนํ้าหนักบรรทุกได้มากกว่ารูปอื่นๆ จากรูปหน้าตัดที่คำนวณได้ หรืออาจจะเลือกใช้โลหะชนิดพิเศษ ซึ่งเขาทำไว้สำหรับป้องกันการกัดกร่อนโดยเฉพาะก็ได้สำหรับเสาเข็มเหล็กที่ฝังอยู่ในชั้นดินที่ถูกรบกวน
– เสาเข็มประกอบ
เสาเข็มประกอบเป็นเสาเข็มที่ประกอบด้วยวัสดุสองอย่างประกอบขึ้นเป็นเข็มต้นเดียวกัน เช่น ไม้กับคอนกรีต หรือเหล็กกับคอนกรีตข้อสำคัญที่สุดของเสาเข็มประเภทนี้คือ “ข้อต่อ” ข้อต่อต่อสัมผัสแนบสนิทกันสามารถถ่ายนํ้าหนักบรรทุกได้โดยตรงข้อต่อต้องทนทานต่อแรงโมเมนต์ดัดและแรงดึงขึ้นหรือแรงยกขึ้น ได้ดีและข้อต่อต้องประกอบกันในสนามได้สะดวก
– เสาเข็มเจาะเสียบ
เป็นเสาเข็มคอนกรีตหล่อสำเร็จรูปธรรมดาทั่วไปแต่แทนที่จะทำ การตอกตั้งแต่เริ่มแรกกลับทำ การเจาะรูนำ เสียก่อนจนเลยระดับความลึกของชั้นดินอ่อน เพื่อให้ ตอกเสาเข็มแล้ว แรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นน้อย
– เสาเข็มไมโครไพล์
เป็นเสาเข็มเจาะขนาดเล็กมีขนาด ใช้ผงดินเหนียวผสมนํ้าใส่ลงไปในรูเจาะเพื่อป้องกันดินพัง รับนํ้าหนักส่วนใหญ่ด้วยความผืดของผนังเสาเข็มท่อเหล็กที่ใช้ทำ เสาเข็มไมโครไพล์ จะต้องเป็นชนิดไม่มีตะเข็บ ท่อเหล็กที่ใช้ที่มีกำลังคลากสูงจะประหยัดกว่าชนิดที่มีกำ ลังคลากตํ่า ปกติมักใช้ท่อเหล็กยาวประมาณท่อนละ 2 – 3 เมตรปลายทั้ง 2 ข้างเป็นเกลียว ต่อกันด้วย Coupling ตัวท่อปลายของท่อนสุดท้ายทำ เป็น non-return valve เพื่อใช้สำหรับการอัดนํ้าปูนครั้งแรก ส่วนของท่อนเหล็กบริเวณที่จะทำ non-return valve เจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 มม. ปกติใช้ 4 รู ห่างเท่าๆ กันโดยระยะระหว่างรูแต่ละชุดประมาณ 50 ซม. สำหรับการอัดนํ้าปูนครั้งที่ 2 และทำการ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ นี้ลงไป