งานก่อสร้าง

งานก่อสร้าง

 

ในการทำการก่อสร้าง มักเกี่ยวข้องกับองค์ความรู้หลาย ๆ ด้านด้วยกัน หนึ่งในองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างได้แก่ เทคนิคก่อสร้างซึ่งมักเกี่ยวข้องกับ วิธีและขั้นตอนในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสิ่งที่ทางสถาปนิกและวิศวกรเขียนอยู่ในแบบและรายการก่อสร้างให้เกิดเป็นสิ่งปลูกสร้างขึ้นมา ทางผู้ที่จะทำการก่อสร้างต้องเรียนรู้ถึงเทคนิคก่อสร้างต่างๆ เราจะมาอธิบายถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง เพื่อให้ผู้อ่านคุ้นเคยกับงานก่อสร้างกันก่อนนะคะ

การใช้ปูนสำเร็จรูป

ปูนสำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน มีความหลากหลายให้เลือกซื้อให้เหมาะกับการใช้งาน เช่น

  1. ปูนฉาบอิฐมอญ อิฐบล็อก
  2. ปูนฉาบอิฐมวลเบา
  3. ปูนก่ออิฐมอญอิฐบล็อก
  4. ปูนก่ออิฐมวลเบา
  5. ปูนฉาบโครงสร้าง
  6. ปูนฉาบผิวบาง
  7. ปูนซ่อมเอนกประสงค์
  8. ปูนกาว
  9. ปูนยาแนว

ปูนสำเร็จรูปเหล่านี้มีคุณสมบัติดีกว่าปูนที่นำมาผสมเองทุกกรณีเนื่องจากออกแบบส่วนผสมมาอย่างถูกต้องจากโรงงานผลิต

งานตอก เจาะเสาเข็ม

  • เสาเข็มตอก มีให้เห็นกันทั่วไปโดยใช้ปั้นจั่นโครงเหล็ก ตอกด้วยลูกตุ้มเหล็ก ความลึกของเสาเข็มขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดินแต่ ละที่ความลึกของแต่ละพื้นที่ไม่แน่นอนอาคารสูงเหมาะสำหรับการตอกเสาเข็มเท่านั้น
    บางครั้งวิศวกรอาจออกแบบบ้านให้ใช้ เสาเข็มไมโครไพล์ แทนโดยปลายเสาเข็มอาจอยู่ที่ 12 – 16 เมตร หากไม่มีอุปสรรคอะไร วิศวกรจะออกแบบเป็นเสาเข็มตอก เพราะควบคุมคุณภาพของงานได้ง่ายขึ้น
  • เสาเข็มเจาะ จะใช้ก็ต่อเมื่อ ตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ลำเลียงเข้าไปไม่ได้บริเวณใกล้เคียงมีการก่อสร้างหนาแน่น หรือสร้างอาคารชิดเขต จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้เสาเข็มเจาะแทน ทั่วไปเสาเข็มเจาะจะมีราคาแพงกว่าเสาเข็มตอกประมาณเกือบเท่าตัว ตั้งแต่ขบวนการเจาะการใส่เหล็ก การหล่อคอนกรีต และการทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม

การใช้ผนังเบา

ผนังเบา คือผนังที่ทำขึ้นโดยไม่ต้องมีคานรองรับใต้พื้น เป็นวัสดุเบาๆ มีน้ำหนัก 30-40 กิโลกรัมต่อตารางเมตร นิยมใช้ทั้ง ภายในและภายนอกอาคาร เช่น ผนังอีเตอร์แพน บอร์ด เป็นไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด รอยต่อใช้โพลียูริเทนยาแนว ก็จะเป็นผนังที่สวยงาม สามารถใช้ความหนาที่ 5.5-9 มม. ตีชิดฉาบเรียบด้วยผงยิบซั่มและปลาสเตอร์ ไม่ต้องเว้นรอยต่อระหว่างแผ่นเรียบสนิทไร้ร่องรอย เก็บหัวสกรูได้สวยงาม เป็นทั้งผนังเก็บเสียง กันไฟปลอดภัยจากมอด ปลวก และ เชื้อราก

การมุงหลังคา

รั่ว ร้อน มักจะเป็นปัญหาของหลังคา ฉะนั้น ไม่ว่าจะมุง หลังคาด้วยวัสดุอะไรก็ตาม ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำการมุงหลังคากับวัสดุนั้นๆ อย่างเคร่งครัดวัสดุแต่ละชนิดจะมีเทคนิคการมุงเฉพาะที่ไม่เหมือนกันถ้าไม่ปฏิบัติตามหรือละเลย แม้แต่จุดเล็กๆ หลังคาที่มุง ก็มีโอกาส รั่ว หรือร้อนได้

ฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันความร้อน มีหลายชนิด

  1. ชนิดอยู่ใต้กระเบื้อง เป็นลักษณะแผ่นบางๆ มีตะกั่ว เรียกว่า แผ่นกันความร้อน หรือฉนวนกันความร้อน
  2. ชนิดที่วางอยู่เหนือฝ้าเพดาน ฉนวนกันความร้อนชนิดนี้มักจะใช้วางบนฝ้าแขวนที-บาร์ โดยไมโครไฟเบอร์สีเหลืองๆ อยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยอลูมิเนียมฟอยล์
  3. ชนิดที่เป็นฝ้าเพดาน เช่นยิบซั่ม ชนิดที่มีฟอยล์อยู่ติดกับแผ่นด้านหนึ่งเป็นฝ้าเพดาน อีกด้านหนึ่งเป็น แผ่นสะท้อนความร้อน
  4. ชนิดที่พ่นใต้หลังคา ลักษณะเป็นโฟมเหลวๆ เรียกว่า โพลียูริเทน ทำหน้าที่เป็นฉนวนป้องกันความร้อน
  5. ชนิดพ่นบนหลังคา เป็นประเภทเซรามิค มักจะเป็นของเหลวคล้ายๆ สี นิยมพ่นบนหลังคากระเบื้อง ดาดฟ้าคอนกรีต
  6. ฉนวนยาง เป็นยางสีดำๆ ปะติดกับอลูมิเนียมฟอยล์ นิยมติดตั้งใต้กระเบื้องมุงหลังคา
  7. ชนิดเป็นเส้นใย เรียกว่าเป็นผงฉนวนชนิดนี้จะพ่นบนฝ้าเพดานต้องมีกรรมวิธีโดยเฉพาะในการทำงาน